Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกิจกรรมสร้างสรรค์ในการแข่งขันว่าวพื้นเมืองมลายูเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของนวัตกรรมชุมชนสันติสุขบนพื้นที่แห่งวิถีว่าว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบและกิจกรรมสร้างสรรค์ในการแข่งขันว่าวพื้นเมืองมลายูเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้รูปแบบการอนุรักษ์ ส่งเสริม ถ่ายทอด และสานต่อ โดยใช้ “ว่าวพื้นเมืองมลายู” เป็นองค์ประกอบหลักของรูปแบบและกิจกรรมภายในงาน เน้นการอนุรักษ์และสืบทอด เน้นสร้างบรรยากาศ โดยมีกิจกรรมการแข่งขันและประกวดว่าวพื้นเมืองมลายูเป็นกิจกรรมดึงดูดและเชื่อมโยงผู้คนที่มีความรักและสนใจในศิลปวัฒนธรรมว่าวพื้นเมืองมลายู และกิจกรรมอื่นๆ เช่น เวทีเสวนาเรื่องว่าวมลายู การทำว่าว การเล่นว่าว การเล่าเรื่องราวจากครูว่าว และหนังกลางแปลง 2) รูปแบบของนวัตกรรมชุมชนสันติสุขบนพื้นที่แห่งวิถีว่าว เป็นรูปแบบภายใต้แนวคิด “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” โดยมีว่าวพื้นเมืองมลายูเป็นกลไกและเครื่องมือ ขับเคลื่อนให้เกิดความสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การรวมตัวของกลุ่มคน 2) กิจกรรมสร้างสรรค์ 3) คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ครูว่าวปูชนียบุคคล และปราชญ์ชาวบ้าน และ 5) ปัจจัยสนับสนุน

Full Text
Published version (Free)

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call