Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบการรับรู้ของนักศึกษาชาวไทยกับชาวเกาหลีที่มีต่อเจตนาในประโยคคำถามที่ปรากฏอยู่ในวัจนกรรมอ้อม 2) เปรียบเทียบการรับรู้ของนักศึกษาชาวไทยที่มีความรู้ทางภาษากลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูงกับชาวเกาหลีที่มีต่อเจตนาในประโยคคำถามที่ปรากฏอยู่ในวัจนกรรมอ้อมและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความรู้ทางภาษาเกาหลีกับผลการรับรู้ของนักศึกษาชาวไทยที่มีต่อเจตนาในประโยคคำถามที่ปรากฏอยู่ในวัจนกรรมอ้อม โดยใช้แบบทดสอบ Multiple Choice Questionnaire จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชาวไทย 100 คน และชาวเกาหลี 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชาวไทยกับชาวเกาหลีมีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกเจตนา 2) นักศึกษาชาวไทยกลุ่มระดับกลางและกลุ่มระดับสูง กับชาวเกาหลีมีการรับรู้เจตนาที่ปรากฏอยู่ในวัจนกรรมทางอ้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ พบว่า เจตนาชักชวนมีกลุ่มตัวอย่างหนึ่งคู่ที่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ 3) ระดับความรู้ทางภาษาเกาหลีกับผลการรับรู้ของนักศึกษาชาวไทยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.663

Full Text
Published version (Free)

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call