Abstract
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยทารกระยะวิกฤต โดยใช้รูปแบบการดำเนินการและผลการวิจัยทางการพยาบาล (CURN Model) ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง เมษายน พ.ศ.2561 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน และผู้ป่วยทารกอายุแรกเกิดถึง 1 ปี จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยทารกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติการพยาบาล ก่อนและหลังนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ โดยใช้สถิติ Paired t – test ผลการศึกษาพบว่า 1.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้ CURN Model ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1)การเริ่มต้นใส่ท่อทางเดินหายใจ 2) การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงที่ส่งผลต่อท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุด และ 3)การเตรียมถอดท่อทางเดินหายใจ ร่วมกับการใช้นวัตกรรม“Safety bed” 2.ด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยทารกระยะวิกฤต มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และ 3.อุบัติการณ์ท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุด มีอัตราเกิดเป็น 0 ครั้ง ต่อ 1000 วัน ดังนั้น การใช้ CURN Model ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลต่อการป้องกันไม่ให้เกิดท่อทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยทารกระยะวิกฤตได้
Published Version
Talk to us
Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have