Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การสร้างอัตลักษณ์ผ้าทอมือชาวกะเหรี่ยง ลายอัตลักษณ์ที่จะพัฒนาจะสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ สำหรับการย้อมสีจากธรรมชาตินั้น กลุ่มผู้ทอผ้าบ้านทีกะเป่อ มีความรู้ในเรื่องการย้อมสีอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่พบจากการย้อมสีธรรมชาติที่กลุ่มพบเจอคือ สีที่ย้อมไม่สด และสีตก ซึ่งคณะผู้วิจัยจะได้แก้ไขปัญหาการย้อมสีเพื่อไม่ให้สีตกเพื่อเป็นความรู้ใหม่กับกลุ่ม และคณะผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่มีราคาสูง และใช้ระยะเวลาในการทอนาน ในการนี้คณะผู้วิจัยจะดำเนินการค้นหาและ เพิ่มรูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีความหลากหลาย ราคาไม่สูงมากนัก เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าของกลุ่มอีกด้วย ระเบียบวิธีการวิจัย: โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทีกะเป่อ และกลุ่มทอผ้าบ้านทีกะเป่อ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ลายผ้าทอบ้านทีกะเป่อ 2) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการย้อมสีธรรมชาติ 3) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คณะวิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการ วิเคราะห์เนื้อหา ประวัติหมู่บ้าน คนสำคัญ สถานที่สำคัญ อาหาร ประเพณี/ความเชื่อ ต้นไม้ สัตว์ ดอกไม้ สี ภาษา หัตถกรรม กิจกรรมยามว่าง ชื่อลายผ้า และนำข้อมูลเชิงพรรณา เก็บข้อมูลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) จากผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านบ้านทีกะเป่อ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคบ กลุ่มทอผ้าบ้านทีกะเป่อ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านทีกะเป่อ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทีกะเป่อ ประชาชน จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ครั้งนี้คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) มีการกำหนดคำถามในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าให้เป็นคำถามปลายเปิด (Open-end Question) เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยไม่มีการชี้นำคำตอบ จากนั้นนำข้อมูลมาสรุปข้อมูลมาสังเคราะห์ โดยแยกเป็นหมวดหมู่ และทำการตัดข้อมูลซ้ำออก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ และนำข้อมูลที่ได้ประชุมสรุปกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายผ้า เพื่อทำการร่างโครงร่างของลายผ้า สุดท้ายคณะผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายผ้า และกลุ่มผู้ทอผ้า เพื่อให้ได้ข้อมูลลายผ้าและวิธีการขึ้นลายผ้า และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ประวัติหมู่บ้าน คนสำคัญ สถานที่สำคัญ อาหาร ประเพณี/ความเชื่อ ต้นไม้ สัตว์ ดอกไม้ สี ภาษา หัตถกรรม กิจกรรมยามว่าง ชื่อลายผ้า และนำข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่า ลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์บ้านทีกะเป่อ มีลักษณะเป็นสายน้ำ หมายถึง แอ่งน้ำ ภาษากะเหรี่ยง เรียกว่า “ทีกะเป่อ” ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้าน แสดงออกถึงในความเป็นตัวตนของชาวบ้านและสอดคล้องกับชื่อของหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มลายที่เป็นลายดั้งเดิมของชาติพันธ์กะเหรี่ยง ที่นำมาทอผสมกับลายสายน้ำและดอกไม้ นั่นคือลาย หนี้เก้พอทูโย่ (จ่อท้อ (ผ้ายกดอก)) และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการย้อมสีธรรมชาติ เกี่ยวกับการย้อมสีผ้าในแต่ละขั้นตอน และยังพบปัญหาคือการย้อมสียังไม่ติดและไม่คงทน คณะผู้วิจัยจึงดำเนินกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยนำผู้เชี่ยวชาญในการย้อมสีผ้ามาปฏิบัติร่วมกับผู้ทอผ้าด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นการย้อม และขั้นการล้าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ตลาดผู้ใช้สินค้าชาติพันธ์นิยม ได้แก่ เสื้อแฟชั่น กระเป๋า เครื่องประดับ รองเท้า ผ้ารองจาน ถ่ายทอดต่อไปได้ผ้าปูโต๊ะ สรุปผล: การสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้บุคคลต่างๆ สามารถแสดงออกถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของตนได้ในบริบทต่างๆ เช่นเดียวกัน การนำเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติแบบดั้งเดิมมาใช้ในผลิตภัณฑ์สมัยใหม่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าแฟชั่นของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น เสื้อ กระเป๋า และเครื่องประดับ ทำให้สินค้าเหล่านี้ดึงดูดใจตลาดสมัยใหม่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็รักษามรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้ด้วย

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call

Disclaimer: All third-party content on this website/platform is and will remain the property of their respective owners and is provided on "as is" basis without any warranties, express or implied. Use of third-party content does not indicate any affiliation, sponsorship with or endorsement by them. Any references to third-party content is to identify the corresponding services and shall be considered fair use under The CopyrightLaw.