Abstract

ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลมีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ทุกรอยต่อของการให้บริการ ซึ่งเกิดจากการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์หรือการส่งต่อข้อมูลระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ไม่ครบถ้วน เพื่อพัฒนาระบบการประสานรายการยาที่มีเภสัชกรทำหน้าที่ประสานรายการยาโดยเฉพาะ เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการในขั้นตอนแรกรับการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ตุลาคม 2561-กันยายน 2565 แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. วางแผนและออกแบบการประสานรายการยาที่มีเภสัชกรร่วมกับทีมสหวิชาชีพ 2. ทดลองดำเนินงานโดยมีเภสัชกร 1 คน นำร่องในกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติยาเดิมเป็นยา warfarin 3. พัฒนาโปรแกรมการประสานรายการยาสำหรับเภสัชกร และ 4. ขยายระบบไปยังกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและเพิ่มเภสัชกรเป็น 2 คน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70-78 ได้รับการประสานรายการยาโดยเภสัชกรภายใน 24 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เภสัชกรพบความคลาดเคลื่อนทางยาร้อยละ 11-17 โดยที่พบมากที่สุดคือได้รับยาในขนาด วิธีบริหารหรือความถี่แตกต่างจากเดิมก่อนมาโรงพยาบาล (ร้อยละ 50-70) รองลงมาคือไม่ได้รับยาเดิมที่เคยได้รับต่อเนื่องก่อนมาโรงพยาบาล (ร้อยละ 15-45) และร้อยละ 70-77 มีระดับความคลาดเคลื่อนที่ส่งไปไม่ถึงผู้ป่วย การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเภสัชกรมีบทบาทสำคัญในกระบวนการประสานรายการยา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาครบถ้วนและต่อเนื่อง ลดโอกาสการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและป้องกันไม่ให้ความคลาดเคลื่อนนั้นส่งไปถึงตัวผู้ป่วยได้

Full Text
Paper version not known

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call