Abstract

เหตุการณ์สังหารหมู่และกราดยิงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสร้างความสูญเสีย ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานข้อมูลของการเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่และกราดยิงในประเทศไทย วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะข้อคิดเห็นจากมุมมองทางจิตเวชศาสตร์ ผู้วิจัยทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยรวบรวมเหตุการณ์สังหารหมู่และกราดยิงในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2537 - 2566 โดยใช้คำจำกัดความทางวิชาการสากล แล้วเก็บข้อมูลลักษณะทางประชากรและทางคลินิก รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ผู้ก่อเหตุและเหยื่อ ผลการวิจัยพบมีเหตุการณ์สังหารหมู่และกราดยิงเกิดขึ้นรวม 78 ครั้งใน 30 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ 65 ครั้ง และเหตุการณ์กราดยิง 49 ครั้ง ผู้ก่อเหตุสังหารหมู่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (89.23%) ใช้อาวุธปืนก่อเหตุ (66.16%) มีประวัติการใช้สารเสพติด (27.69%) มีประวัติการฝึกใช้ปืน (20%) มีประวัติโรคทางจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (7.7%) มีผู้เสียชีวิต 348 รายจากเหตุการณ์รวมทั้งหมด โดยสรุปคือเหตุการณ์สังหารหมู่และกราดยิงในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นประจำและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยสำคัญของเหตุการณ์สังหารหมู่ในประเทศไทยคือการเข้าถึงและฝึกใช้อาวุธปืน ปัญหายาเสพติด ส่วนประวัติโรคทางจิตเวชพบไม่มาก การสร้างฐานข้อมูลและศึกษาเหตุการณ์เหล่านี้ทางวิชาการต่อไป อาจนำไปสู่แนวทางป้องกันที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต

Full Text
Paper version not known

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call