Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative data) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นำเสนอผลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพในการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทย มีลักษณะของสภาพในการจัดกิจกรรมดนตรีมากที่สุด คือกิจกรรมดนตรีด้านการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง ร้อยละ 26.98 ประกอบด้วยกิจกรรมแอโรบิก ลีลาศ บาสโลบและรำวง รองลงมาคือกิจกรรมการฟังเพลง ร้อยละ 20.98 ถัดมาคือกิจกรรมการร้องเพลง ร้อยละ 20.59 โดยมากเป็นการขับร้องคาราโอเกะและกิจกรรมการปฏิบัติเครื่องดนตรี ร้อยละ10 2. ความต้องการในการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในประเทศไทย ผู้สูงอายุมีความต้องการในการพัฒนาสุขภาวะให้สมบูรณ์ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมการฟังเพลง การร้องเพลง การขับร้องคาราโอเกะ การปฏิบัติเครื่องดนตรีและการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง โดยผู้สูงอายุมีความต้องการให้จัดกิจกรรมดนตรีในโรงเรียนผู้สูงอายุมากกว่า 1 ครั้ง ต่อภาคเรียน ร้อยละ 60.9 และต้องการให้โรงเรียนผู้สูงอายุสอดแทรกกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผ่านการออกกำลังกายร้อยละ 65.6 ได้แก่ แอโรบิก ลีลาศ บาสโลบ และรำวง

Full Text
Published version (Free)

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call