Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ปัญหาการรังแกกันสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นตามอายุที่พบ เด็กปฐมวัยก็พบว่ามีการรังแกกันเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งการค้นพบข้อมูลว่าเด็กปฐมวัยสามารถรังแกกันได้ จะทำให้ผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้ต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการรังแกกันในเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นแบบกรณีศึกษาในโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง เก็บข้อมูลกับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง 3 จำนวน 547 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง โดยครูประจำชั้นแต่ละห้องเป็นผู้สังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียน และวิเคราะห์ผลการสังเกตพฤติกรรมโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผล ผลการศึกษา: เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทองส่วนใหญ่ไม่พบพฤติกรรมการรังแกกันทั้ง 3 รูปแบบ ดังนี้ (1) การรังแกกันทางกายใน 10 พฤติกรรมย่อย คิดเป็นร้อยละ 68.20 ถึง 94.50 ของนักเรียนทั้งหมด (2) การรังแกกันทางวาจาใน 8 พฤติกรรมย่อย คิดเป็นร้อยละ 88.10 ถึง 95.60 ของนักเรียนทั้งหมด และ (3) การรังแกกันทางสังคมใน 4 พฤติกรรมย่อย คิดเป็น 88.80 ถึง 95.60 ของนักเรียนทั้งหมด สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ที่โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทองไม่ได้มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง แต่มีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างมากที่มีส่วนร่วมในรูปแบบการกลั่นแกล้งทางร่างกาย วาจา และทางสังคม อัตราความชุกของพฤติกรรมย่อยเหล่านี้อยู่ระหว่าง 68.20% ถึง 95.60%

Full Text
Published version (Free)

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call