Abstract

บทนำ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคหัวใจ และหลอดเลือด การศึกษาที่ผ่านมาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านสุขภาพ ดังนั้นการพัฒนาให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม และเป็นการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด การออกแบบวิจัย การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ อาศัยอยู่ใน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าดังนี้ 1) ความดันโลหิตซิสโตลิกอยู่ระหว่าง 140-179 มิลลิเมตรปรอท หรือระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกอยู่ระหว่าง 90-109 มิลลิเมตรปรอท และ 2) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีระยะเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วยการอบรม เชิงปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพเชิงกระบวนการคิด พัฒนาการสื่อสารความรู้ทั่วไป พัฒนาความรู้เฉพาะโรค และ การติดตามการปฏิบัติตัวโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามพฤติกรรม การดูแลตนเอง และ 5) แบบบันทึกคะแนนโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะ 10 ปีข้างหน้า ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือส่วนที่ 1-4 เท่ากับ 1.00, 1.00, .86 และ 1.00 ตามลำดับ และการตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ของเครื่องมือส่วนที่ 3 ได้ค่า KR-20 เท่ากับ .82 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือส่วนที่ 4 เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test, Paired t-test, Mann Whitney U test และ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัย ตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ อายุเฉลี่ย 59.31 ปี (SD 7.38) และ 59.63 ปี (SD 6.64) ตามลำดับ การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 74.29 และ 68.57 ตามลำดับ) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม (M 125.63, SD 4.33) และพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม (M 4.63, SD 0.23) มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M 84.71, SD 14.12, p<.001; M 3.50, SD 0.46, p<.001, respectively) และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M 87.63, SD 13.91, p<.001; M 3.44, SD 0.37, p<.001, respectively) และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (M 7.26, SD 3.39) น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M 9.92, SD 5.03, p <.001) และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M 10.50, SD 6.28, p = .031) ข้อเสนอแนะ พยาบาลวิชาชีพและทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในชุมชนเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

Full Text
Published version (Free)

Talk to us

Join us for a 30 min session where you can share your feedback and ask us any queries you have

Schedule a call